บทที่2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษากรดจากน้ำมะนาวมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้ดีขึ้นหรือไม่ ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
1. ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
2. สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
1.ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
2.สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน Linear Alkylbenzene Sulfonates, Sodium Salt (LAS) จัดเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) LAS เป็นสารผสมของสารที่มีจำนวนคาร์บอนอยู่ระหว่าง 10-14 อะตอมบนสายอัลคิล (alkyl chain) ซึ่งต่อกับวงแหวนเบนซินที่ตำแหน่งพารา1 LAS ในรูปของเกลือโซเดียมจัดเป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า และ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ในความเข้มข้นระหว่าง 5-25 %2 เนื่องจาก LAS สามารถทำให้สิ่งสกปรก หรือคราบไขมันหลุดจากผิวของผ้าหรือจานชามได้
3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
ประโยชน์ ใช้ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว
อาการเมื่อเป็นพิษ ความเป็นพิษของสารนี้ต่อมนุษย์จัดว่าเป็นพิษน้อย โดยทั่วไปอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือตาได้เล็กน้อย ในการทดลองการก่อการระคายเคืองของสารนี้ต่อผิวหนังและตาในกระต่าย พบว่าสารนี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ตาได้ในความเข้มข้น 5% ส่วนที่ผิวหนังต้องใช้ในความเข้มข้นที่สูงประมาณ 47-50% ส่วนความเป็นพิษเมื่อรับประทานนั้น ต้องได้รับสารนี้ในความเข้มข้นมากกว่า 65%3 และจากการทดลองในหนูพบว่าปริมาณสารมากที่สุดที่ยังปลอดภัยเมื่อรับประทาน คือ 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน4 อาการเป็นพิษที่พบได้ในหนูจะพบความผิดปกติ ดังนี้ เดินโซเซ ขนตั้งชัน การหายใจลดลง ง่วงซึม หนังตาตก ท้องเสีย เป็นต้น
การปฐมพยาบาล
- กรณีรับประทาน ห้ามทำให้อาเจียน ให้รีบดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที
-กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำมาก ๆ จนอาการระคายเคืองตาหายไป หากไม่ดีขึ้นควรนำผู้ป่วยพบแพทย์
-กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำมาก ๆ จนอาการระคายเคืองตาหายไป หากไม่ดีขึ้นควรนำผู้ป่วยพบแพทย์
ข้อควรระวัง (คำเตือน)
-ห้ามรับประทาน
-ระวังอย่าให้เข้าตา ควรเก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็กและอาหาร
-ระวังอย่าให้เข้าตา ควรเก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็กและอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น